Click for share
5
(3)

ในภาวะวิกฤติ หรือเกิดความไม่สงบจนถึงภาวะสงคราม (ความพร้อมระดับ พ.๒ - พ.๔)

๑) ระดับยุทธศาสตร์

มีคณะกรรมการอํานวยการสื่อสารองค์กรและการปฏิบัติการข่าวสารของ ทร. และ ศปก.ทร. ร่วมกันรับผิดชอบในภาพรวมของการปฏิบัติการข่าวสาร โดยเมื่อเกิดสถานการณ์ที่มีความจําเป็น ต้องดําเนินการปฏิบัติการข่าวสารจะพิจารณากําหนดเรื่องประเด็นที่ ทร.จําเป็นต้องริเริ่มดําเนินการ ปฏิบัติการข่าวสารในระดับนโยบาย และยุทธศาสตร์ตามสภาวะแวดล้อมและสถานการณ์ที่เป็นไป ณ ช่วงเวลานั้น ๆ โดยจะกําหนดวัตถุประสงค์เฉพาะและเป้าหมายของการปฏิบัติการข่าวสาร และมอบให้คณะทํางานสื่อสารข้อมูลข่าวสาร ทร. ศปก.ทร. โดย ศยก.ศปก.ทร.(ส่วนปฏิบัติการข่าวสาร) ศูนย์ปฏิบัติการ ข่าวสาร ทร. และ คณะโฆษก ตร. นําไปวางแผนและกํากับดูแaารปฏิบัติการข่าวสารทั้งปวงให้สอดคล้องกับ สถานการณ์และแนวคิดทางยุทธการของ ทร. ในภาวะวิกฤติหรือความไม่สงบ จนถึงภาวะสงคราม เพื่อกําหนด กลยุทธ์ แผนงานการปฏิบัติและเป้าหมายของการปฏิบัติการข่าวสารที่ชัดเจนให้กับศูนย์ปฏิบัติการข่าวสาร ประจําพื้นที่ ทรภ.และหน่วยเฉพาะกิจ ทร. ต่อไป

๒) ระดับยุทธการ

มีคณะทํางานสื่อสารข้อมูลข่าวสาร ทร. และ ศปก.ทร. โดย ศยก.ศปก.ทร. (ส่วนปฏิบัติการข่าวสาร) รวมทั้ง ศปข.ทร. เป็นส่วนรับผิดชอบ โดยมีหน้าที่ร่วมกันกําหนด กลยุทธ์ แผนงาน การปฏิบัติ และมาตรการในการปฏิบัติการข่าวสารตามสถานการณ์และสภาวะที่เกิดขึ้น ตามระดับยุทธศาสตร์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการควบคุม อํานวยการ สั่งการ ประสานการปฏิบัติ และกํากับดูแลการปฏิบัติของ ศปข. ประจําพื้นที่ และหน่วยเฉพาะกิจ ทร. ในการปฏิบัติการข่าวสาร ตลอดจนประสานคณะโฆษก ทร. ดําเนินการ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะ และเป้าหมายของ การปฏิบัติการข่าวสารที่ได้กําหนดไว้

๓) ระดับยุทธวิธี

มีศูนย์ปฏิบัติการข่าวสารประจําพื้นที่ ทรภ. และหน่วยเฉพาะกิจ ทร. เป็นหน่วยรับผิดชอบโดยนำกลยุทธ์ แผนงานการปฏิบัติ และมาตรการในการปฏิบัติการข่าวสารที่คณะทํางานสื่อสารข้อมูลข่าวสาร ทร. ศปข.ทร. และ (ศยก.ศปก.ทร. (ส่วนปฏิบัติการข่าวสาร)) ร่วมกันกําหนด ตามระดับยุทธการ มาดําเนินการวิเคราะห์ภารกิจของหน่วย ปัจจัยแวดล้อม รวมทั้งศักยภาพของหน่วย ทั้งด้านองค์บุคคลและองค์วัตถุเพื่อกําหนดหนทางปฏิบัติที่ดีที่สุด หลังจากนั้นจึงนําไปวางแผนปฏิบัติ และดําเนินการตามแผนที่ได้วางไว้ เพื่อมุ่งสร้างผลกระทบหรืออิทธิพลในการชักจูง อารมณ์ ทัศนคติ และพฤติกรรมต่อกลุ่มเป้าหมายให้ได้มา ซึ่งสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติภารกิจของ ทร. และหน่วย ทร. ในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ปฏิบัติการข่าวสารประจําพื้นที่ รวมทั้งก่อให้เกิดผลในทางตรงกันข้ามกับกลุ่มเป้าหมายเมื่อเริ่มปฏิบัติการแล้ว ต้องจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติตลอดการดําเนินการ หากปรากฏว่าการปฏิบัติการข่าวสารที่ได้ดําเนินการไปแล้วนั้น ยังไม่สามารถทําให้บรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะและเป้าหมายที่กําหนดไว้ได้ จะต้องมีการพิจารณา ทบทวน และอาจต้องปรับเปลี่ยนหนทางปฏิบัติ วิธีการ และแผนการปฏิบัติตามความจําเป็นของสถานการณ์ และสภาวะแวดล้อมที่ได้มีการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ หากพิจารณาแล้ว เห็นว่าขีดความสามารถของ หน่วยที่มีอยู่ไม่สามารถดําเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะ และเป้าหมายที่กําหนดไว้ได้ ให้เสนอ ศปก.ทร./ ศปข.ทร. เพื่อขอให้พิจารณาทบทวนหรือปรับวัตถุประสงค์เฉพาะ และเป้าหมายของการปฏิบัติการข่าวสารใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และศักยภาพของหน่วยต่อไป

๒.๒.๕ คำแนะนำเพิ่มเติม

                ๒.๒.๕.๑ ในการปฏิบัติการข่าวสารนั้น จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดําเนินการ ให้เกิดผลกระทบ ตามเป้าประสงค์ในจังหวะ (Tempo) และห้วงเวลา (Timing) ที่เหมาะสม โดยพิจารณาถึงความเป็นไปได้ ในการนําสาขาการปฏิบัติการหลัก สาขาการปฏิบัติการสนับสนุน และสาขาการปฏิบัติการ
ที่เกี่ยวข้องมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะการปฏิบัติในแต่ละสาขา สามารถนํามาใช้สนับสนุนส่งเสริมซึ่งกันและกันได้ เช่น การทําลายทางกายภาพ สามารถสนับสนุนได้ด้วยการต่อต้านข่าวกรอง เพื่อลดขีดความสามารถ ของฝ่ายตรงข้ามในการหาข่าว เป็นต้น 

                 ๒.๒.๕.๒ วัตถุประสงค์เฉพาะ และเป้าหมายของการปฏิบัติการข่าวสาร ต้องมีความรวดเร็ว ชัดเจน และอ่อนตัว พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่พัฒนาอยู่ตลอดเวลาด้วย

 

บทความนี้มีประโยชน์อย่างไร ?

คลิกที่ดาวเพื่อให้คะแนน!

คะแนนเฉลี่ย 5 / 5. จำนวนโหวต: 3

ยังไม่มีคะแนนโหวต! เป็นคนแรกที่ให้คะแนนบทความนี้